วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัตินางสงกรานต์



ประวัตินางสงกรานต์
ความเชื่อของคนไทย เกี่ยวกับตำนานของนางสงกรานต์คือ พระธิดาของท้าวกบิลพรหมหรือท้าวมหาสงกรานต์ มีอยู่ 7 คน ประจำอยู่ในแต่ละวันของหนึ่งสัปดาห์ โดยจะคอยผลัดเปลี่ยนกันรับหน้าที่อัญเชิญเศียรของท้าวกบิลพรหม
ผู้เป็นบิดาออกแห่เวียนประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุในวันสงกรานต์ของทุกปี การกำหนดว่าปีใดจะตรงกับนางสงกรานต์นางใด จะคิดจากว่าปีนั้น ๆ วันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันอะไร นางสงกรานต์ประจำของแต่ละวันจะมีชื่อและ
รายละเอียดแตกต่างกันดังนี้
1. นางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์
1.1 ชื่อ ทุงษเทวี
1.2 สีของพัสตราภรณ์ สีมณีแดง
1.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกทับทิม
1.4 เครื่องประดับที่ใช้ ปัทมราค
1.5 ภักษาหาร ผลมะเดื่อ
1.6 หัตถ์ขวาถือ จักร
1.7 หัตถ์ซ้ายถือ สังข์
1.8 พาหนะที่ใช้ ครุฑ
2. นางสงกรานต์ประจำวันจันทร์
2.1 ชื่อ โคราคเทวี
2.2 สีของพัสตราภรณ์ สีจันทร์
2.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกปีบ
2.4 เครื่องประดับที่ใช้ มุกดา
2.5 ภักษาหาร น้ำมันเนย
2.6 หัตถ์ขวาถือ พระขรรค์
2.7 หัตถ์ซ้ายถือ ไม้เท้า
2.8 พาหนะที่ใช้ พยัคฆ์
3. นางสงกรานต์ประจำวันอังคาร
3.1 ชื่อ รากษสเทวี
3.2 สีของพัสตราภรณ์ สีเพทาย
3.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกบัวหลวง
3.4 เครื่องประดับที่ใช้ โมรา
3.5 ภักษาหาร โลหิต
3.6 หัตถ์ขวาถือ ตรีศูล
3.7 หัตถ์ซ้ายถือ ธนู
3.8 พาหนะที่ใช้ วราหะ
4. นางสงกรานต์ประจำวันพุธ
4.1 ชื่อ มณฑาเทวี
4.2 สีของพัสตราภรณ์ สีมรกต
4.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกจำปา
4.4 เครื่องประดับที่ใช้ ไพฑูรย์
4.5 ภักษาหาร นมเนย
4.6 หัตถ์ขวาถือ เหล็กแหลม
4.7 หัตถ์ซ้ายถือ ไม้เท้า
4.8 พาหนะที่ใช้ คัทรภะ
5. นางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี
5.1 ชื่อ กิริณีเทวี
5.2 สีของพัสตราภรณ์ สีไพฑูรย์
5.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกมณฑา
5.4 เครื่องประดับที่ใช้ มรกต
5.5 ภักษาหาร ถั่วงา
5.6 หัตถ์ขวาถือ ขอช้าง
5.7 หัตถ์ซ้ายถือ หน้าไม้
5.8 พาหนะที่ใช้ กุญชร
6. นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์
6.1 ชื่อ กิมิทาเทวี
6.2 สีของพัสตราภรณ์ สีเพชร
6.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกจงกลนี
6.4 เครื่องประดับที่ใช้ บุษราคัม
6.5 ภักษาหาร กล้วยน้ำ
6.6 หัตถ์ขวาถือ พระขรรค์
6.7 หัตถ์ซ้ายถือ พิณ
6.8 พาหนะที่ใช้ มหิงส์
7. นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์
7.1 ชื่อ มโหธรเทวี
7.2 สีของพัสตราภรณ์ สีนิล
7.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกสามหาว
7.4 เครื่องประดับที่ใช้ นิลรัตน์
7.5 ภักษาหาร เนื้อทราย
7.6 หัตถ์ขวาถือ จักร
7.7 หัตถ์ซ้ายถือ ตรีศูล
7.8 พาหนะที่ใช้ มยุระ

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัติวันสงกรานต์


ประวัติวันสงกรานต์
ในสมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่นั้น เนื่องจากประเทศที่อยู่ในแถบร้อนถือว่าช่วงเวลาเริ่มต ้นฤดูร้อนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ด้วยว่างเว้นจาก การทำการเกษตร อีกทั้งอากาศที่หนาวเย็นก็ผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยในช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ทุก ๆ อย่างนั้น หยุดนิ่งไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ก็หยุดผลิดอกออกผล สัตว์ทั้งหลาย ก็หยุดนิ่งนอนจำศีล ด้วยอากาศที่หนาวเย็นนั้นไม่สะดวกในการใช้ชีวิต หรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเองวันสงกรานต์จึงเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ในประเทศแถบร้อน ซึ่งแตกต่างจากประเทศแถบหนาวดังที่กล่าวไว้ในเรื่องข องวันปีใหม่ วันสงกรานต์มีทั้งหมด ๓ วันด้วยกัน ได้แก่ วันที่ ๑๓ เมษายน วันมหาสงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า หมายถึง ก้าวหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ คือ สงกรานต์ปี การที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันทำความสะอาดใหญ่ ชำระล้างร่างกาย และจิตใจให้ใสสะอาด เริ่มมีการเล่นสาดน้ำเป็นวันแรกวันที่ ๑๔ วันกลาง หรือวันเนา หมายถึง อยู่คือวันที่ถัดมาจากวันมหาสงกรานต์ ๑ วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่มักมีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมายเช่น ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีทราย ขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรมและมหรสพอื่นๆ ... การเล่นสาดน้ำตามประเพณีไทยมักเล่นกันวันนี้มากเป็นพิเศษ และวันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศกใหม่ เป็นวันทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ ปล่อยนกปล่อยปลา อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษและขอพรปีใหม่เพื่อเป็นศิริมง คลต่อชีวิต ตลอดจนจัดให้มีการสรงน้ำพระสงฆ์ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกด้วย ..วันนี้ยังมีการเล่นสาดน้ำอยู่เช่นกัน แต่ในส่วนของตำนานวันสงกรานต์รวมถึงประเพณีที่เกี่ยว ข้องกับนางสงกรานต์นั้น มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกของวัดพระเชตุพนวิมลมั งคลาราม
วันสงกรานต์เป็นราพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฎในหนังสือนางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และข้ามาเป็นพระราชประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณตามจารีตปรเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติ แห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหม้นต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีวันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิธีมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมีการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น
กิจกรรมวันสงกรานต์๑. ทำบุญตักบาตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต๒. ปล่อยนกปล่อยปลา คนไทยมีความเชื่อว่าการปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าเป็นการอโหสิกรรมและ ชำระบาปในส่วนที่ตนเป็นผู้ก่อ อีกทั้งทำให้เคราะห์ร้ายที่จะเกิดขึ้นหมดไป๓. ให้ทานแก่ผู้ที่ขัดสน เช่น คนชรา เด็กพิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น๔. สรงน้ำพระพุทธรูป และสรงน้ำพระภิกษุสามเณร๕. การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ได้แก่ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ และบุคคลที่มีพระคุณ การรดน้ำผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ด้วยต้อง การขอขมาสิ่งที่อาจจะล่วงเกินผู้ใหญ่ ในบางครั้ง รวมถึงเป็นการขอพรเพื่อ เป็นสิริมงคล และข้อคิดเตือนใจแก่ตนเอง อีกทั้งเพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระ คุณอีกด้วย การรดน้ำ ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีของบุตรหลานที่มีต่อบุพการีหรือญาติ ผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรจากบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่๖. การละเล่นสาดน้ำ ประเพณีนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์เลยทีเดียว ด้วยงานฉลองวันสงกรานต์นั้นเป็นช่วง ฤดูร้อน ประเพณีเริ่มจากการที่มีการสรงน้ำพระ และรดน้ำญาติผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำนั้นนิยมกันในหมู่ของหนุ่มสาว น้ำที่ใช้สาดกันนั้นจะใส่น้ำอบ น้ำหอม แต่ในปัจจุบันประเพณีอันดีงามอันนี้ได้จางหายไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ในปัจจุบันมีการสาดน้ำกันอย่างรุนแรง รวมถึงได้มีการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการละเล่นสาดน้ำมากขึ้นด้วย

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

ส.ค.ส. พระราชทาน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๕๒ แก่ประชาชนชาวไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๒ แก่ประชาชนชาวไทย ประชาชนชาวไทยทั้งหลายบัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรระลึกถึงกัน และอวยพรแก่กันด้วยความปรารถนาดีก่อนอื่น ข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมาก ที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายนด้วยใจภักดีและระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุขความเจริญ
ความสุขความเจริญนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงได้ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดกำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใกล้ไกลทุกแง่ทุกมุม ความรู้ความเข้าใจชัดถึงผลดีผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้น และสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผล เป็นประโยชน์ที่แท้จริงและยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวมในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิดจะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดีให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ผลของการคิดดี ทำดีนั้นจะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุขความเจริญและทำให้ชาติบ้านเมืองมีความเรียบร้อย และอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนาขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคนให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จสมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน
ส.ค.ส. พระราชทาน 2552
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. ปีพุทธศักราช 2552 แก่ประชาชนชาวไทยส.ค.ส.พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช 2552 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีน้ำตาลอ่อน ผ้าปักพระกระเป๋าสีฟ้าสดใส ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาวทรงผูกเนคไทสีฟ้าอ่อน ประทับบนพระเก้าอี้ ทรงฉายกับคุณทองแดง สุวรรณชาด ที่นั่งอยู่ข้างพระเก้าอี้ และคุณนายแดงแม่ของคุณทองแดง ที่หมอบเฝ้าอยู่อีกข้างหนึ่งฉากหลังของ ส.ค.ส. เป็นสนามหญ้าในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีต้นไม้ใหญ่ และต้นชวนชมดอกสีชมพูมุมบนด้านซ้าย มีตราสัญญลักษณ์ 2 ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ระหว่างตราสัญญลักษณ์ทั้งสองมีตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า ส.ค.ส. ๒๕๕๒ ใต้ลงมามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2009มุมบนด้านขวา มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมี…ความสุข…ความเจริญด้านล่างขวา มีตัวเลขสีแดง ระบุวันเดือนปีที่ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ว่า 2008 12 17 / 17 : 11กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ 3 แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม
ในกรอบด้านล่าง มีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 192231 ธค. 51 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing , D Bramaputra, Publisherในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่และ ส.ค.ส.พระราชทาน ปี 2552 แก่ปวงชนชาวไทยนั้นคุณทองแดง สุวรรณชาด ได้หมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทหลังพระเก้าอี้ตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

จันทรุปาคา


จันทรุปาคา

จันทรุปาคา เป็นปรากฏการณ์ ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์
การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ) เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญจึงมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ เช่น “ จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก จึงทำคนบนซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์ ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลมผลกระทบ การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้ เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”

สุริยุปราคา


สุริยุปราคา

สุริยุปราคาสุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลกสุริยุปราคาคืออะไรสุริยุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นดวงกลมโดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน” สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่ดวงจันทร์มักจะโคจรในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าแนวระดับเดียวกัน ( แนวเส้นตรงเดียวกัน ) กับโลกและดวงอาทิตย์ ดังนั้นสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ( ตรงกับแรม 14 – 15 ค่ำ )ผลกระทบ การเกิดสุริยุปราคามีผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากการที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดแสงลงเนื่องจากดวงจันทร์บังแสงดวงอาทิตย์ ทำให้สัตว์ต่างๆพากันกลับรังเพราะนึกว่าถึงเวลากลางคืนเห็นได้ชัดก็คือ นกชนิดต่างๆ จะบินกลับรัง ส่วนคนก็พากันตื่นเต้นและเตรียมการเฝ้าดูในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีโอกาสเห็น และได้ศึกษาการเกิดสุริยุปราคา และเกิดบริเวณใดของโลกวิธีดู เมื่อเกิดสุริยุปราคาไม่ควรดูด้วยตาเปล่า เพราะอาจทำให้ตาบอดหรือเป็นโรคตาได้ ควรใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูปขาวดำที่ใช้แล้ว นำมาซ้อนกัน 2 –3 แผ่น แล้วดูผ่านฟิล์มถ่ายรูป หรือใช้การมองผ่านกระจกที่รมควันให้แสงผ่านได้น้อยที่สุด