วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัตินางสงกรานต์



ประวัตินางสงกรานต์
ความเชื่อของคนไทย เกี่ยวกับตำนานของนางสงกรานต์คือ พระธิดาของท้าวกบิลพรหมหรือท้าวมหาสงกรานต์ มีอยู่ 7 คน ประจำอยู่ในแต่ละวันของหนึ่งสัปดาห์ โดยจะคอยผลัดเปลี่ยนกันรับหน้าที่อัญเชิญเศียรของท้าวกบิลพรหม
ผู้เป็นบิดาออกแห่เวียนประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุในวันสงกรานต์ของทุกปี การกำหนดว่าปีใดจะตรงกับนางสงกรานต์นางใด จะคิดจากว่าปีนั้น ๆ วันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันอะไร นางสงกรานต์ประจำของแต่ละวันจะมีชื่อและ
รายละเอียดแตกต่างกันดังนี้
1. นางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์
1.1 ชื่อ ทุงษเทวี
1.2 สีของพัสตราภรณ์ สีมณีแดง
1.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกทับทิม
1.4 เครื่องประดับที่ใช้ ปัทมราค
1.5 ภักษาหาร ผลมะเดื่อ
1.6 หัตถ์ขวาถือ จักร
1.7 หัตถ์ซ้ายถือ สังข์
1.8 พาหนะที่ใช้ ครุฑ
2. นางสงกรานต์ประจำวันจันทร์
2.1 ชื่อ โคราคเทวี
2.2 สีของพัสตราภรณ์ สีจันทร์
2.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกปีบ
2.4 เครื่องประดับที่ใช้ มุกดา
2.5 ภักษาหาร น้ำมันเนย
2.6 หัตถ์ขวาถือ พระขรรค์
2.7 หัตถ์ซ้ายถือ ไม้เท้า
2.8 พาหนะที่ใช้ พยัคฆ์
3. นางสงกรานต์ประจำวันอังคาร
3.1 ชื่อ รากษสเทวี
3.2 สีของพัสตราภรณ์ สีเพทาย
3.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกบัวหลวง
3.4 เครื่องประดับที่ใช้ โมรา
3.5 ภักษาหาร โลหิต
3.6 หัตถ์ขวาถือ ตรีศูล
3.7 หัตถ์ซ้ายถือ ธนู
3.8 พาหนะที่ใช้ วราหะ
4. นางสงกรานต์ประจำวันพุธ
4.1 ชื่อ มณฑาเทวี
4.2 สีของพัสตราภรณ์ สีมรกต
4.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกจำปา
4.4 เครื่องประดับที่ใช้ ไพฑูรย์
4.5 ภักษาหาร นมเนย
4.6 หัตถ์ขวาถือ เหล็กแหลม
4.7 หัตถ์ซ้ายถือ ไม้เท้า
4.8 พาหนะที่ใช้ คัทรภะ
5. นางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี
5.1 ชื่อ กิริณีเทวี
5.2 สีของพัสตราภรณ์ สีไพฑูรย์
5.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกมณฑา
5.4 เครื่องประดับที่ใช้ มรกต
5.5 ภักษาหาร ถั่วงา
5.6 หัตถ์ขวาถือ ขอช้าง
5.7 หัตถ์ซ้ายถือ หน้าไม้
5.8 พาหนะที่ใช้ กุญชร
6. นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์
6.1 ชื่อ กิมิทาเทวี
6.2 สีของพัสตราภรณ์ สีเพชร
6.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกจงกลนี
6.4 เครื่องประดับที่ใช้ บุษราคัม
6.5 ภักษาหาร กล้วยน้ำ
6.6 หัตถ์ขวาถือ พระขรรค์
6.7 หัตถ์ซ้ายถือ พิณ
6.8 พาหนะที่ใช้ มหิงส์
7. นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์
7.1 ชื่อ มโหธรเทวี
7.2 สีของพัสตราภรณ์ สีนิล
7.3 ดอกไม้ที่ทัด ดอกสามหาว
7.4 เครื่องประดับที่ใช้ นิลรัตน์
7.5 ภักษาหาร เนื้อทราย
7.6 หัตถ์ขวาถือ จักร
7.7 หัตถ์ซ้ายถือ ตรีศูล
7.8 พาหนะที่ใช้ มยุระ

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัติวันสงกรานต์


ประวัติวันสงกรานต์
ในสมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่นั้น เนื่องจากประเทศที่อยู่ในแถบร้อนถือว่าช่วงเวลาเริ่มต ้นฤดูร้อนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ด้วยว่างเว้นจาก การทำการเกษตร อีกทั้งอากาศที่หนาวเย็นก็ผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยในช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ทุก ๆ อย่างนั้น หยุดนิ่งไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ก็หยุดผลิดอกออกผล สัตว์ทั้งหลาย ก็หยุดนิ่งนอนจำศีล ด้วยอากาศที่หนาวเย็นนั้นไม่สะดวกในการใช้ชีวิต หรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเองวันสงกรานต์จึงเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ในประเทศแถบร้อน ซึ่งแตกต่างจากประเทศแถบหนาวดังที่กล่าวไว้ในเรื่องข องวันปีใหม่ วันสงกรานต์มีทั้งหมด ๓ วันด้วยกัน ได้แก่ วันที่ ๑๓ เมษายน วันมหาสงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า หมายถึง ก้าวหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ คือ สงกรานต์ปี การที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันทำความสะอาดใหญ่ ชำระล้างร่างกาย และจิตใจให้ใสสะอาด เริ่มมีการเล่นสาดน้ำเป็นวันแรกวันที่ ๑๔ วันกลาง หรือวันเนา หมายถึง อยู่คือวันที่ถัดมาจากวันมหาสงกรานต์ ๑ วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่มักมีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมายเช่น ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีทราย ขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรมและมหรสพอื่นๆ ... การเล่นสาดน้ำตามประเพณีไทยมักเล่นกันวันนี้มากเป็นพิเศษ และวันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศกใหม่ เป็นวันทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ ปล่อยนกปล่อยปลา อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษและขอพรปีใหม่เพื่อเป็นศิริมง คลต่อชีวิต ตลอดจนจัดให้มีการสรงน้ำพระสงฆ์ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกด้วย ..วันนี้ยังมีการเล่นสาดน้ำอยู่เช่นกัน แต่ในส่วนของตำนานวันสงกรานต์รวมถึงประเพณีที่เกี่ยว ข้องกับนางสงกรานต์นั้น มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกของวัดพระเชตุพนวิมลมั งคลาราม
วันสงกรานต์เป็นราพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฎในหนังสือนางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และข้ามาเป็นพระราชประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณตามจารีตปรเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติ แห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหม้นต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณีวันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิธีมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมีการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น
กิจกรรมวันสงกรานต์๑. ทำบุญตักบาตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต๒. ปล่อยนกปล่อยปลา คนไทยมีความเชื่อว่าการปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าเป็นการอโหสิกรรมและ ชำระบาปในส่วนที่ตนเป็นผู้ก่อ อีกทั้งทำให้เคราะห์ร้ายที่จะเกิดขึ้นหมดไป๓. ให้ทานแก่ผู้ที่ขัดสน เช่น คนชรา เด็กพิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น๔. สรงน้ำพระพุทธรูป และสรงน้ำพระภิกษุสามเณร๕. การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ได้แก่ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ และบุคคลที่มีพระคุณ การรดน้ำผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ด้วยต้อง การขอขมาสิ่งที่อาจจะล่วงเกินผู้ใหญ่ ในบางครั้ง รวมถึงเป็นการขอพรเพื่อ เป็นสิริมงคล และข้อคิดเตือนใจแก่ตนเอง อีกทั้งเพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระ คุณอีกด้วย การรดน้ำ ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีของบุตรหลานที่มีต่อบุพการีหรือญาติ ผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรจากบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่๖. การละเล่นสาดน้ำ ประเพณีนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์เลยทีเดียว ด้วยงานฉลองวันสงกรานต์นั้นเป็นช่วง ฤดูร้อน ประเพณีเริ่มจากการที่มีการสรงน้ำพระ และรดน้ำญาติผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำนั้นนิยมกันในหมู่ของหนุ่มสาว น้ำที่ใช้สาดกันนั้นจะใส่น้ำอบ น้ำหอม แต่ในปัจจุบันประเพณีอันดีงามอันนี้ได้จางหายไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ในปัจจุบันมีการสาดน้ำกันอย่างรุนแรง รวมถึงได้มีการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการละเล่นสาดน้ำมากขึ้นด้วย